วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Recorded Diary 15


Wednesday 27 November 2019
Time 08:30 - 12:30 o’clock

The knowledge gained >> ความรู้ที่ได้รับ
             อาจารย์ให้ทำแผนผังความคิด สรุปเทคนิคการสอนวิทยาศาตร์





Words >> คำศัพท์
Additional experience  ประสบการณ์เสริม
How is science teaching?  การสอนวิทยาศาสตร์เป็นอย่างไร
Using teacher questions  การใช้คำถามของครู
Changing attitudes about science  การเปลี่ยนเจตคติเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
Teaching techniques science  เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์

Assesment >> การประเมิน
Our self ตัวเอง : ตั้งใจสรุปแผนผังความคิดของตนเอง
Friend เพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจทำแผนผังความคิดของตนเอง
Teacher อาจารย์ : อาจารย์ให้ถ่ายแผนผังความคิดลง Bloogger

วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Recorded Diary 14


Wednesday 20 November 2019
Time 08:30 - 12:30 o’clock

The knowledge gained >> ความรู้ที่ได้รับ







สื่อกลุ่ม





สื่อเดี่ยว
โฮเวอร์คราฟท์ ลูกโป่ง (บอลลูน)
เมื่อเป่าลูกโป่งให้โตเต็มที่แล้วปล่อยลมออก ทางเดือยที่สวมติดกับลูกโป่ง ลมจะพุ่งออกมา ทางใต้ฐานของโฮเวอร์คราฟท์ ทําให้โฮเวอร์คราฟท์ ยกตัวขึ้น เพราะอากาศจากลูกโป่งแผ่กระจายออก ระหว่างพื้นกับผิวใต้ฐาน มีผลทําให้แรงเสียดทาน ระหว่างผิวสัมผัสของฐานกับพื้นลดลง แรงผลักในแนวนอนจึงดันให้โฮเวอร์คราฟท์เคลื่อนที่ไปจนลูกโป่งแฟบ เพราะอากาศภายในหมด




Words >> คำศัพท์
kinetic energy พลังงานจลน์
Air  อากาศ
Resistance  แรงต้านทาน
Gravity  แรงโน้มถ่วง

Wind  ลม

Assesment >> การประเมิน
Our self ตัวเอง : ตั้งใจออกมานำเสนอและทำการทดลองให้ออกมาดีที่สุด
Friend เพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจทำสื่อของตัวเองให้ออกมาดีและตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ
Teacher อาจารย์ : อาจารย์ให้สาระวิทยาศาสตร์ในสื่อนั้นๆ

วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Recorded Diary 13


Wednesday 13 November 2019
Time 08:30 - 12:30 o’clock

The knowledge gained >> ความรู้ที่ได้รับ
              วันนี้อาจารย์พูดถึงการประดิษฐ์สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์แต่ละกลุ่ม และให้กลับไปทำแล้วนำมาส่งในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562






Assesment >> การประเมิน
Our self ตัวเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์
Friend เพื่อน : ตั้งใจฟังอาจารย์
Teacher อาจารย์ : อาจารย์ให้ข้อแนะนำในการประดิษฐ์สื่อของเล่น


วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Recorded Diary 12


Wednesday 6 November 2019
Time 08:30 - 12:30 o’clock

The knowledge gained >> ความรู้ที่ได้รับ

           ไปศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อไปทำการทดลองวิทยาศาสตร์ให้เด็กๆดู กลุ่มของฉันทำการทดลอง

เรื่อง แสง สี และการมองเห็น
การทำงานของดวงตา
สิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
          มนุษย์และสัตว์ส่วนใหญ่มองเห็นและรับรู้สภาพสิ่งแวดล้อมได้ด้วยตา แต่ภาพที่เรามองเห็นเหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร

ภาพรวมการทดลอง
            เลนส์ตาของเราสร้างภาพหัวกลับบนจอตา ข้อมูลภาพบนจอตาจะถูกส่งไปยังสมองเพื่อประมวลผล จากนั้นเราจึงมองเห็นเป็นภาพหัวตั้งได้ เด็กๆสามารถสร้างภาพหัวกลับได้โดยใช้แว่นขยายหรือโหลแก้วใสทรงกลมบรรจุน้ำ

วัสดุอุปกรณ์
-โหลแก้วใสทรงกลม
-น้ำเปล่า
-ถ้วยกาแฟเซรามิกที่มีรูปภาพสีสันสวยงาม
-ตุ๊กตาขนาดต่างกัน 2 ตัว
-โต๊ะ
-ผนังสีขาวหรือกระดาษสีขาวแผ่นใหญ่

วัสดุอุปกรณ์เพิ่มเติม
-แว่นขยาย
-กระดาษสีขาว
-ห้องที่มีหน้าต่าง (ไม่มีแสงอาทิตย์ส่องเข้ามาโดยตรง)
 ( รูปที่ 1 )

สรุปแนวคิด
โหลแก้วใสทรงบรรจุน้ำมีคุณสมบัติเป็นเลนส์นูนได้ ภาพที่ได้จากการมองวัตถุในระยะใกล้เลนส์นูนเป็นภาพขยายหัวตั้งไม่กลับซ้ายเป็นขวา ในขณะที่ภาพที่ได้จากวัตถุที่อยู่ไกลจะมีขนาดเล็ก หัวกลับและกลับซ้ายเป็นขวา

เริ่มต้นจาก
-ทำการทดลองบนโต๊ะที่ตั้งอยู่กลางห้อง เพื่อให้เด็กๆสังเกตการทดลองได้รอบโต๊ะ
-ให้เด็กๆนำโหลแก้วใสทรงกลมที่เติมน้ำจนเกือบเต็มมาวางกลางโต๊ะ
-ให้เด็กสองคนยืนหันหน้าเข้าหากัน โดยมีโหลแก้วใสทรงกลมที่ตั้งอยู่บนโต๊ะคั่นกลาง จากนั้นเด็กๆคุกเข่าลงจนใบหน้าอยู่ในระดับเดียวกับโหลแก้ว ให้เด็กสังเกตใบหน้าของเพื่อนที่อยู่ตรงข้าม่านโหลแก้ว เด็กๆสามารถขยับเข้าหรือออกจากโหลแก้วได้ เพื่อให้ภาพใบหน้าของเพื่อนคมชัด เด็กๆมองเห็นภาพใบหน้าของเพื่อนเป็นอย่างไร
-ให้เด็กเปลี่ยนตำแหน่งกัน โดยเด็กแต่ละคนนั่งหรือคุกเข่าห่างจากโหลแก้วเท่ากัน จากนั้นผลัดกันเข้าขยับเข้าหาโหลและขยับออกห่างจากโหลแก้วช้าๆ ภาพที่เห็นเมื่อขยับใบหน้าเข้าใกล้และออกจากโหลแก้วอย่างช้าๆเป็นอย่างไร

ทดลองต่อไป
- ตั้งโต๊ะแก้วห่างจากผนังหรือฉากสีขาวประมาณ 50 เซนติเมตร จากนั้นวางถ้วยกาแฟไว้ระหว่างโหลแก้วกับผนัง
-ให้เด็กๆมองด้านหน้าโหลแก้วในระยะห่างต่างๆกัน โดยเริ่มต้นจากยืนชิดกับโหลแก้ว และค่อยๆขยับห่างออกมา อาจต้องปรับเปลี่ยนระยะระหว่างถ้วยกาแฟมีลักษณะอย่างไร เหมือนกับของจริงหรือไม่ (รูปที่ 3)
-ให้เด็กๆวางตุ๊กตา 2 ตัว ระหว่างโหลแก้วกับฉากขยับตำแหน่งที่เห็นภาพตุ๊กตาผ่านโหลแก้วคมชัดที่สุด ตุ๊กตาตัวไหนอยู่ด้านขวา ตัวไหนอยู่ด้านซ้าย และตรงกับตำแน่งจริงที่ตุ๊กตาตั้งอยู่หรือไม่ (รูปที่ 4)
-ให้เด็กๆนำสิ่งของอื่นๆมาวางหลังโหลแก้ว สังเกตภาพของสิ่งขิงเหล่านั้นและอธิบายสิ่งที่มองเห็น
-แนะนำให้มองไปรอบๆห้องผ่านโหลแก้ว
-ให้เด็กๆทำการทดลองใหม่ โดยใช้โหลแก้วเปล่า ภาพที่มองเห็นแตกต่างจากการใช้โหลแก้วเติมน้ำหรือไม่

เกิดอะไรขึ้น
ถ้าใบหน้าของเราอยู่ใกล้โหลแก้วใสทรงกลม เมื่อมองดูสิ่งที่อยู่ด้านหลัง ภาพที่เห็นจะไม่คมชัด เราต้องขยับออกมาจนมีระยะห่างเหมาะสม จึงจะมองเห็นสิ่งที่อยู่หลังโหลแก้ว ซึ่งจะเป็นภาพหัวกลับและกลับซ้ายขวา ภาพใบหน้าคนหรือสิ่งของที่อยู่หลังโหลแก้วจะเป็นภาพขยาย

คำแนะนำ
ให้เด็กๆถือแว่นขยายแล้วเหยียดมือออก เมื่อมองผ่านแว่นขยาย ภาพที่อยู่ข้างหลังแว่นขยายจะเป็นภาพหัวกลับและกลับซ้ายขวา (รูปที่ 5)
ให้เด็กคนหนึ่งยืนหันหลังให้หน้าต่าง  และถือแว่นขยายไว้หน้าต่าง เด็กอีกคนถือแผ่นกระดาษสีขาวให้แสงส่องผ่านเลนส์ไปตกลงบนกระดาษ ควรให้กระดาษห่างจากแว่นขยายประมาณ 15-20 เซนติเมตร อาจปรับระยะห่างระหว่างแผ่นกนะดาษกับแว่นขยายให้เหมาะสม เพื่อให้ภาพขยายจากนอกหน้าต่างอยู่บนกระดาษ (รูปที่ 6)
ให้เด็กๆมองภาพที่เกิดขึ้นบนแผ่นกระดาษ การทดลองนี้อาจทำคนเดียวได้ โดยใช้มือข้างหนึ่งถือแว่นขยาย และอีกข้างหนนึ่งถือกระดาษ

ทำไมเป็นเช่นนั้น
โหลแก้วใสทรงกลมบรรจุน้ำและแว่นขยายมีคุณสมบัติเป็นเลนส์นูน ซึ่งจะรวมแสงไว้ที่จุดเดียว เรียกว่า จุดรวมแสง
ภาพของวัตถุที่อยู่ในระยะใกล้เลนส์นูนจะเป็นภาพขยายหัวตั้งและไม่กลับซ้ายขวา แต่ถ้าวัตถุอยู่ในระยะไกล ภาพที่ได้จะมีขนาดเล็ก หัวกลับ และกลับซ้ายขวา
เราสามารถใช้แว่นขยายส่องให้แสงตกลงบนแผ่นกระดาษเพื่อทำให้เกิดภาพสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆถ้ามีแสงสว่างเพียงพอ แต่ถ้าวัตถุที่อยู่บนกระดาษมีความคมชัดไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับระยะห่างจากกระดาษ
การมองเห็นภาพของเราก็มีหลักการเช่นเดียวกัน เลนส์ตามีลักษณะยืดหยุ่นอยู่หลังรูม่านตา เมื่อแสงส่องผ่านเลนส์ตาจะหักเหไปตกที่จอตาเกิดเป็นภาพหัวกลับ จอตามีเซลล์ประสาทการมองเห็นจำนวนมาก ทำหน้าที่ตอบสนองต่อแสงและส่งสัญญาณไปยังสมอง ทำให้เรามองเห็นภาพได้ ภาพที่เราเห็นจากการทดลองนี้ เกิดขึ้นกับการมองเห็นของเรา เช่นกัน
-ภาพที่เกิดบนจอตาเป็นภาพหัวกลับและกลับซ้ายขวา เมื่อส่งไปประมวลผลที่สมอง เราจึงเห็นเป็นภาพแบบปกติ
-เลนส์ตารวมแสงได้ทั้งระยะใกล้และระยะไกล โดยปรับเปลี่ยนความโค้งของเลนส์ตา แต่ไม่สามารถรวมแสงในระยะใกล้และไกลพร้อมกันได้
-เราจะมองเห็นภาพต่างๆคมชัดเฉพาะตรงกลาง แต่รอบข้างจะไม่ชัด เนื่องจากประสาทการมองเห็นจำกัดการมองอยู่บริเวณตรงกลางเท่านั้น
-ยิ่งแสงสว่างมาก ภาพที่เห็นจะยิ่งชัดเจนมากขึ้น
-อุปกรณ์แสดงภาพหลายอย่างใช้หลักการสร้างภาพของแว่นขยาย เช่น กล้องถ่ายรูป และเครื่องฉายภาพสไลด์










Assesment >> การประเมิน
Our self ตัวเอง : ตั้งใจทำการทดลองให้ออกมาดีที่สุด
Friend เพื่อน : เพื่อนคอยเช่วยเหลือกลุ่มเพื่อนที่ทำการทดลอง
Teacher อาจารย์ : อาจารย์ให้ข้อแนะนำในการทดลอง


วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Recorded Diary 11


Wednesday 30 October 2019
Time 08:30 - 12:30 o’clock

The knowledge gained >> ความรู้ที่ได้รับ
                    ไปศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อไปทำการทดลองวิทยาศาสตร์ให้เด็กดู


Assesment >> การประเมิน
Our self ตัวเอง : คอยช่วยเหลือเพื่อนอีกกลุ่ม
Friend เพื่อน : เพื่อนตั้งใจทำการทดลอง
Teacher อาจารย์ : อาจารย์ให้ข้อแนะนำในการทดลอง

วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Recorded Diary 10


Wednesday 16 October 2019
Time 08:30 - 12:30 o’clock

The knowledge gained >> ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มทำการทดลองอีกรอบ ซึ่งกลุ่มของดิฉันทำการทดลอง แสง สี และการมองเห็น

เรื่อง แสง สี และการมองเห็น
การทำงานของดวงตา
สิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
          มนุษย์และสัตว์ส่วนใหญ่มองเห็นและรับรู้สภาพสิ่งแวดล้อมได้ด้วยตา แต่ภาพที่เรามองเห็นเหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร

ภาพรวมการทดลอง
            เลนส์ตาของเราสร้างภาพหัวกลับบนจอตา ข้อมูลภาพบนจอตาจะถูกส่งไปยังสมองเพื่อประมวลผล จากนั้นเราจึงมองเห็นเป็นภาพหัวตั้งได้ เด็กๆสามารถสร้างภาพหัวกลับได้โดยใช้แว่นขยายหรือโหลแก้วใสทรงกลมบรรจุน้ำ

วัสดุอุปกรณ์
-โหลแก้วใสทรงกลม
-น้ำเปล่า
-ถ้วยกาแฟเซรามิกที่มีรูปภาพสีสันสวยงาม
-ตุ๊กตาขนาดต่างกัน 2 ตัว
-โต๊ะ
-ผนังสีขาวหรือกระดาษสีขาวแผ่นใหญ่

วัสดุอุปกรณ์เพิ่มเติม
-แว่นขยาย
-กระดาษสีขาว
-ห้องที่มีหน้าต่าง (ไม่มีแสงอาทิตย์ส่องเข้ามาโดยตรง)
 ( รูปที่ 1 )

สรุปแนวคิด
โหลแก้วใสทรงบรรจุน้ำมีคุณสมบัติเป็นเลนส์นูนได้ ภาพที่ได้จากการมองวัตถุในระยะใกล้เลนส์นูนเป็นภาพขยายหัวตั้งไม่กลับซ้ายเป็นขวา ในขณะที่ภาพที่ได้จากวัตถุที่อยู่ไกลจะมีขนาดเล็ก หัวกลับและกลับซ้ายเป็นขวา

เริ่มต้นจาก
-ทำการทดลองบนโต๊ะที่ตั้งอยู่กลางห้อง เพื่อให้เด็กๆสังเกตการทดลองได้รอบโต๊ะ
-ให้เด็กๆนำโหลแก้วใสทรงกลมที่เติมน้ำจนเกือบเต็มมาวางกลางโต๊ะ
-ให้เด็กสองคนยืนหันหน้าเข้าหากัน โดยมีโหลแก้วใสทรงกลมที่ตั้งอยู่บนโต๊ะคั่นกลาง จากนั้นเด็กๆคุกเข่าลงจนใบหน้าอยู่ในระดับเดียวกับโหลแก้ว ให้เด็กสังเกตใบหน้าของเพื่อนที่อยู่ตรงข้าม่านโหลแก้ว เด็กๆสามารถขยับเข้าหรือออกจากโหลแก้วได้ เพื่อให้ภาพใบหน้าของเพื่อนคมชัด เด็กๆมองเห็นภาพใบหน้าของเพื่อนเป็นอย่างไร
-ให้เด็กเปลี่ยนตำแหน่งกัน โดยเด็กแต่ละคนนั่งหรือคุกเข่าห่างจากโหลแก้วเท่ากัน จากนั้นผลัดกันเข้าขยับเข้าหาโหลและขยับออกห่างจากโหลแก้วช้าๆ ภาพที่เห็นเมื่อขยับใบหน้าเข้าใกล้และออกจากโหลแก้วอย่างช้าๆเป็นอย่างไร

ทดลองต่อไป
- ตั้งโต๊ะแก้วห่างจากผนังหรือฉากสีขาวประมาณ 50 เซนติเมตร จากนั้นวางถ้วยกาแฟไว้ระหว่างโหลแก้วกับผนัง
-ให้เด็กๆมองด้านหน้าโหลแก้วในระยะห่างต่างๆกัน โดยเริ่มต้นจากยืนชิดกับโหลแก้ว และค่อยๆขยับห่างออกมา อาจต้องปรับเปลี่ยนระยะระหว่างถ้วยกาแฟมีลักษณะอย่างไร เหมือนกับของจริงหรือไม่ (รูปที่ 3)
-ให้เด็กๆวางตุ๊กตา 2 ตัว ระหว่างโหลแก้วกับฉากขยับตำแหน่งที่เห็นภาพตุ๊กตาผ่านโหลแก้วคมชัดที่สุด ตุ๊กตาตัวไหนอยู่ด้านขวา ตัวไหนอยู่ด้านซ้าย และตรงกับตำแน่งจริงที่ตุ๊กตาตั้งอยู่หรือไม่ (รูปที่ 4)
-ให้เด็กๆนำสิ่งของอื่นๆมาวางหลังโหลแก้ว สังเกตภาพของสิ่งขิงเหล่านั้นและอธิบายสิ่งที่มองเห็น
-แนะนำให้มองไปรอบๆห้องผ่านโหลแก้ว
-ให้เด็กๆทำการทดลองใหม่ โดยใช้โหลแก้วเปล่า ภาพที่มองเห็นแตกต่างจากการใช้โหลแก้วเติมน้ำหรือไม่

เกิดอะไรขึ้น
ถ้าใบหน้าของเราอยู่ใกล้โหลแก้วใสทรงกลม เมื่อมองดูสิ่งที่อยู่ด้านหลัง ภาพที่เห็นจะไม่คมชัด เราต้องขยับออกมาจนมีระยะห่างเหมาะสม จึงจะมองเห็นสิ่งที่อยู่หลังโหลแก้ว ซึ่งจะเป็นภาพหัวกลับและกลับซ้ายขวา ภาพใบหน้าคนหรือสิ่งของที่อยู่หลังโหลแก้วจะเป็นภาพขยาย

คำแนะนำ
ให้เด็กๆถือแว่นขยายแล้วเหยียดมือออก เมื่อมองผ่านแว่นขยาย ภาพที่อยู่ข้างหลังแว่นขยายจะเป็นภาพหัวกลับและกลับซ้ายขวา (รูปที่ 5)
ให้เด็กคนหนึ่งยืนหันหลังให้หน้าต่าง  และถือแว่นขยายไว้หน้าต่าง เด็กอีกคนถือแผ่นกระดาษสีขาวให้แสงส่องผ่านเลนส์ไปตกลงบนกระดาษ ควรให้กระดาษห่างจากแว่นขยายประมาณ 15-20 เซนติเมตร อาจปรับระยะห่างระหว่างแผ่นกนะดาษกับแว่นขยายให้เหมาะสม เพื่อให้ภาพขยายจากนอกหน้าต่างอยู่บนกระดาษ (รูปที่ 6)
ให้เด็กๆมองภาพที่เกิดขึ้นบนแผ่นกระดาษ การทดลองนี้อาจทำคนเดียวได้ โดยใช้มือข้างหนึ่งถือแว่นขยาย และอีกข้างหนนึ่งถือกระดาษ

ทำไมเป็นเช่นนั้น
โหลแก้วใสทรงกลมบรรจุน้ำและแว่นขยายมีคุณสมบัติเป็นเลนส์นูน ซึ่งจะรวมแสงไว้ที่จุดเดียว เรียกว่า จุดรวมแสง
ภาพของวัตถุที่อยู่ในระยะใกล้เลนส์นูนจะเป็นภาพขยายหัวตั้งและไม่กลับซ้ายขวา แต่ถ้าวัตถุอยู่ในระยะไกล ภาพที่ได้จะมีขนาดเล็ก หัวกลับ และกลับซ้ายขวา
เราสามารถใช้แว่นขยายส่องให้แสงตกลงบนแผ่นกระดาษเพื่อทำให้เกิดภาพสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆถ้ามีแสงสว่างเพียงพอ แต่ถ้าวัตถุที่อยู่บนกระดาษมีความคมชัดไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับระยะห่างจากกระดาษ
การมองเห็นภาพของเราก็มีหลักการเช่นเดียวกัน เลนส์ตามีลักษณะยืดหยุ่นอยู่หลังรูม่านตา เมื่อแสงส่องผ่านเลนส์ตาจะหักเหไปตกที่จอตาเกิดเป็นภาพหัวกลับ จอตามีเซลล์ประสาทการมองเห็นจำนวนมาก ทำหน้าที่ตอบสนองต่อแสงและส่งสัญญาณไปยังสมอง ทำให้เรามองเห็นภาพได้ ภาพที่เราเห็นจากการทดลองนี้ เกิดขึ้นกับการมองเห็นของเรา เช่นกัน
-ภาพที่เกิดบนจอตาเป็นภาพหัวกลับและกลับซ้ายขวา เมื่อส่งไปประมวลผลที่สมอง เราจึงเห็นเป็นภาพแบบปกติ
-เลนส์ตารวมแสงได้ทั้งระยะใกล้และระยะไกล โดยปรับเปลี่ยนความโค้งของเลนส์ตา แต่ไม่สามารถรวมแสงในระยะใกล้และไกลพร้อมกันได้
-เราจะมองเห็นภาพต่างๆคมชัดเฉพาะตรงกลาง แต่รอบข้างจะไม่ชัด เนื่องจากประสาทการมองเห็นจำกัดการมองอยู่บริเวณตรงกลางเท่านั้น
-ยิ่งแสงสว่างมาก ภาพที่เห็นจะยิ่งชัดเจนมากขึ้น
-อุปกรณ์แสดงภาพหลายอย่างใช้หลักการสร้างภาพของแว่นขยาย เช่น กล้องถ่ายรูป และเครื่องฉายภาพสไลด์





Words >> คำศัพท์
 Light and color  แสง สี และการมองเห็น
Things that are seen in life Daily  สิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
Experimental overview  ภาพรวมการทดลอง
Why is that  ทำไมเป็นเช่นนั้น
Suggestion  คำแนะนำ

Assesment >> การประเมิน
Our self ตัวเอง : ตั้งใจดูการทดลองของเพื่อน
Friend เพื่อน : เพื่อนตั้งใจดูการทดลอง
Teacher อาจารย์ : อาจารย์ช่วยแนะนำในสิ่งที่เรายังขาด


วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Recorded Diary 9


Wednesday 2 October 2019
Time 08:30 - 12:30 o’clock

The knowledge gained >> ความรู้ที่ได้รับ
                ไปดูสัมมนาหลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 1 






ไฮสโคป (High Scope) 
ไฮสโคป (High Scope) เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ ซึ่งตรงตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) นักการศึกษาที่สำคัญคนหนึ่งของโลก ความสำคัญในด้านพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน จะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกิดความคิด  ความรู้  ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตนอง

ไฮสโคป (High Scope) ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ
1. การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ
2. การปฏิบัติ (Do) คือ การลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง
3. การทบทวน (Review) เด็ก ๆ จะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริงคือ ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง

จุดเด่นของแนวการสอนไฮสโคป (High Scope)
การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ ในเมื่อหลักการของแนวนี้คือให้เด็กริเริ่มกิจกรรมด้วยตนเอง ดังนั้น การจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศก็จำเป็นต้องเอื้อต่อการเรียนรู้ มีการลื่นไหลของกิจกรรม และทำให้เด็กเกิดความรู้สึกกระตือรือร้น
1. พื้นที่ ต้องมีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม เพื่อให้เอื้อต่อการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนแบบร่วมมือกระทำ มุมสำคัญที่ควรมี คือ มุมศิลปะ มุมหนังสือ มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมบล็อก
2. วัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนและอุปกรณ์ต้องมีมากพอและหลากหลาย เพื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้พัฒนาแผนการทำงาน และดำเนินการตามแผน

ประโยชน์ของแนวการสอนไฮสโคป (High Scope) ที่มีต่อเด็ก
1. สอนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้อื่น ซึ่งเริ่มต้นจากความไว้วางใจโยครูต้องเป็นผู้สร้างความไว้วางใจให้แก่เด็กเพื่อให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมหรือชิ้นงานตามความสนใจของตนเองและมีความสนุกในการเรียนรู้ที่จะทำงาน
2. การลงมือทำงานฝึกให้เด็กวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน เป็นระบบ
3. เด็กได้ฝึกสมาธิทำให้เด็กเกิดปัญญา ฝึกความมีระเบียบวินัย  ฝึกการคิดอย่างมีความหมาย ผลที่ตามมาคือ ความสำเร็จในการทำงานที่ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  ได้เรียนรู้และมีความสุขในการทำงานที่ตนสนใจ

แนวการสอนแบบโครงการ  (Project Approach)
        การสอนแบบโครงการ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งเรียนรู้

การสอนแบบโครงการมีที่มาอย่างไร?
            การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการได้เริ่มในประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงศตวรรษที่ 19-20 เป็นความคิดริเริ่มของ William Heard Kilpatrick นักการศึกษาอเมริกัน ซึ่งพัฒนามาจากแนวคิดของ John Dewey ที่สนับสนุนให้สร้างประสบการณ์ทางการศึกษาเพื่อช่วยให้เด็กเกิดความตระหนักในชุมชน นำมาประยุกต์ สอนเด็กถึงวิธีการใช้โครงการที่เกี่ยวกับประสบการณ์จริงให้เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษามากกว่าการเตรียมเด็กเพื่ออนาคต ในช่วงปี ค.ศ. 1934 Lucy Sprague Mitchell นักการศึกษาจาก The Bank Street College Of Education นครนิวยอร์ก ออกศึกษาสิ่งแวดล้อมและสอนครูให้รู้จักวิธีการใช้โครงการ ซึ่งเป็นวิธีสอนที่พัฒนาโดยวิทยาลัยการศึกษาแบงก์สตรีทมีส่วนคล้ายคลึงอย่างมากกับการสอนแบบโครงการ ผลการทดลองใช้พบว่า เด็กเรียนรู้ได้ดีจากการวางแผนทำงานร่วมกัน ได้ตัดสินใจและเรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการเรียน ผลการเรียนรู้ส่งเสริมศักยภาพของเด็กทุกด้าน ต่อมาในปี ค.ศ.1945 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน Villa Cella ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่อยู่ห่างจากตัวเมือง Reggio Emilia 2-3 ไมล์ แม่บ้านกลุ่มหนึ่งร่วมมือกับ Malaguzzi นักการศึกษา และกลุ่มผู้ปกครองจัดการศึกษาให้เหมาะกับเด็กที่มีชีวิตอยู่ท่ามกลางบ้านเรือนปรักหักพังเพราะผลจากสงครามโลก และทำการศึกษาค้นคว้าทฤษฎี บทความ งานวิจัย ข้อคิดเห็นจากศาสตร์สาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ทดลองปฏิบัติ แล้ววิเคราะห์ สะท้อนผลการปฏิบัติ ทำการปรับปรุงจนได้แนวคิดและการปฏิบัติในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย และประสบผลสำเร็จจนเป็นที่รู้จักในกลุ่มยุโรปอเมริกาเหนือ และอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 Reggio Emilia ได้กลายเป็นชื่อของแนวคิดในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย และ การเรียนรู้อย่างลุ่มลึกจากงานของโครงการ (Projects) เป็นกิจกรรมการสอนที่ โดดเด่นในโรงเรียนตามแนวคิด Reggio Emilia การจัดประสบการณ์แบบโครงการได้รับการพัฒนารูปแบบให้ชัดเจนขึ้นโดย Katz ชาวอเมริกา และ Chard ชาวแคนาดา ที่ได้ไปศึกษาดูงานการเรียนการสอน Project Approach จากโรงเรียนก่อนประถมศึกษาในเมือง Reggio Emilia ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี และทั้งสองก็ได้พิมพ์เผยแพร่หนังสือชื่อว่า Engaging Children , s Mind : The Project Approach ซึ่งหนังสือเล่มนี้ ได้เป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์แบบโครงการในระยะต่อมา สำหรับประเทศไทยมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนทางการศึกษาได้จัดหลักสูตรที่กำหนดรายวิชา นวัตกรรมการศึกษา โดยให้นักศึกษาเรียนและทดลองจัดการสอนแบบโครงการให้แก่เด็กปฐมวัยเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่ต้องฝึกปฏิบัติ ตลอดจนศึกษาวิจัยในหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ส่วนสถานศึกษาระดับปฐม วัยทั้งภาครัฐและเอกชนสนใจนำนวัตกรรมการสอนแบบโครงการไปใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

การสอนแบบโครงการมีลักษณะอย่างไร?

        การสอนแบบโครงการเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีลักษณะสำคัญดังนี้ 
ความคิดพื้นฐานเชื่อว่า การเรียนรู้ของเด็กมาจากการกระทำ เด็กเป็นผู้ที่ต้องพัฒนา มีความคิด มีความมุ่งหมาย ความต้องการที่จะเรียนรู้ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นของตนเองต้องพึ่งตนเอง การสอนแบบโครงการมุ่งพัฒนาทางร่างกายและจิตใจของเด็กไปพร้อมกัน
วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ 
ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ 
ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น 
ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน
มีกิจกรรมหลักในโครงการ 4 กิจกรรมคือ กิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน กิจกรรมทัศนศึกษา กิจกรรมสืบค้น และกิจกรรมนำเสนอผลงาน
กิจกรรมสืบค้นมีหลากหลายได้แก่ การรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การสัมภาษณ์ การปฏิบัติทดลอง การรวบรวมเอกสาร การรายงาน การจัดแสดงผลงานที่ได้จากโครงการ เป็นต้น
เรื่องที่จะเรียนมาจากความสนใจของเด็กที่ต้องการเรียนอย่างลุ่มลึก เด็กจึงเป็นผู้วางแผนและร่วมคิด ร่วมมือสืบค้นกับผู้อื่น ครูเป็นผู้สนับสนุน สังเกตและอำนวยความสะดวก หากเรื่องนั้นมีความเป็นไปได้ มีแหล่งข้อมูลเพียงพอ พ่อแม่และชุมชนมีความพร้อมที่จะร่วมมือ
ทักษะการเรียนรู้หนังสือจำนวน ให้บูรณาการในหัวเรื่องโครงการ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษา ดังนั้น หัวเรื่องหนึ่งที่เด็กสนใจเรียนรู้นั้นต้องมีเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์และควรสำรวจที่โรงเรียนเหมาะกว่าที่บ้าน

แนวการสอนแบบโครงการ (Project Approach)
สามารถนำรูปแบบการสืบค้นความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง 
สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและครอบครัว เนื่องจากการสอนแบบโครงการ พ่อแม่ ผู้ปกครองจะต้องร่วมมือกับครูสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กทุกรูปแบบ
พ่อแม่ ผู้ปกครองจะนำการสอนแบบโครงการมาประยุกต์ใช้กับลูกได้อย่างไร?
            การจัดการสอนแบบโครงการนำมาประยุกต์ใช้ในครอบครัวได้เป็นอย่างดี โดยให้ลูกได้เรียนรู้เรื่องที่เขาสนใจทั้งในแนวกว้างและแนวลุ่มลึกที่เขาสามารถเรียนได้ สนับสนุนลูกให้สืบหาคำตอบด้วยตนเองโดยพ่อแม่หรือพี่ น้องวัยใกล้เคียงกันเป็นเพื่อนร่วมเรียน ด้วยวิธีการอ่านหนังสือ การวาดภาพ การสร้างเรื่อง การสังเกต การเขียน และรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญซึ่งอาจจะเป็นญาติผู้ใหญ่ เช่น ย่า ยาย เพื่อนบ้าน นำลูกไปเรียนรู้ที่แหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง และให้ลูกประมวลความรู้ที่ค้นพบ สิ่งสำคัญ พ่อแม่จะต้องเข้าใจว่าการสอนแบบโครงการจะต้องอาศัยเวลา บางครั้งลูกอาจจะประมวลสรุปความรู้ไม่ได้ ต้องค้นหาสาเหตุ บางครั้งอาจจะเกิดจากเรื่องที่สนใจนั้นใช้เวลาศึกษายาวนาน หรือการรับรู้เรื่องราวขาดการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิม เมื่อลูกได้รับการส่งเสริมให้สืบค้นความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา พ่อแม่จะสังเกตพบว่า ลูกได้ใช้ภาษา ได้พัฒนาทักษะสังคม ได้พัฒนาความคิดผ่านการใช้คำถาม การแก้ปัญหา และได้ทักษะการสังเกต
Words >> คำศัพท์
Cognitive Theory  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
Plan  การวางแผน
Do  การปฏิบัติ
Review  การทบทวน

Project Approach  แนวการสอนแบบโครงการ  

Assesment >> การประเมิน
Our self ตัวเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้การสนใจในการเรียน
Teacher อาจารย์ : อธิบายรายวิชาให้ฟังอย่างละเอียด