วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2562

Recorded Diary 5


Wednesday 28 August 2019
Time 08:30 - 12:30 o’clock

The knowledge gained >> ความรู้ที่ได้รับ
         อาจารย์พูดคุยเรืื่องสื่องานกลุ่ม และให้ไปเข้าร่วมงานศึกษาศาสตร์วิชาการ










Words >> คำศัพท์
The history of Study  ความเป็นมาของการศึกษา
The principle  หลักการ
Vision  วิสัยทัศน์
Early Childhood Education Philosophy  ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย
Psychology  จิตวิทยา

Assesment >> การประเมิน
Our self ตัวเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้สนใจในสิ่งที่อาจารย์บอก
Teacher อาจารย์ : อธิบายเรื่องงานสื่ออย่างละเอียดและให้ไปเข้าร่วมงานศึกษาศาสตร์วิชาการ



วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562

Recorded Diary 4


Wednesday 21 August 2019
Time 08:30 - 12:30 o’clock

The knowledge gained >> ความรู้ที่ได้รับ
    วันนี้อาจารย์ให้ไปศึกษาดูงานที่ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค (Hall 6-12) เมืองทองธานี

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2562

แนวคิดในการจัดงาน
                   งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปีและของประเทศ จัดขึ้นเพื่อร่วมเทิด
พระเกียรติพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย และพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทยและพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรม
จากความร่วมมือของหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ทั้งในและต่างประเทศ แสดงถึงศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีที่นำสมัย สามารถสร้างความตื่นเต้น
สร้างแรงบันดาลใจ และความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แก่สังคมไทย โดยเป็นโอกาสที่ประชาชนและเยาวชนทั่วไปจะได้เข้าถึงข้อมูลความรู้ ได้รับประสบการณ์
และมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบที่สนุกสนาน ซึ่งจะก่อให้เกิดทัศนคติเชิงบวก กระตุ้นการคิดและการตั้งคำถาม และนำไปสู่การเป็นผู้รักการ
เรียนรู้ตลอดชีวิตทางวิทยาศาสตร์ต่อไป
                     รูปแบบของกิจกรรมในงานเป็นคล้าย เทศกาลวิทยาศาสตร์ (science festival) ในหลายประเทศ คือประกอบด้วย การจัดนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในรูปแบบทันสมัยที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วม (interactive exhibition) โดยเน้นหัวข้อที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ (New S-Curve) นอกจากนี้ยังนำเสนอประเด็นการเปลี่ยนแปลงของวิกฤตโลก
เช่น ภาวะโลกร้อน ความหลากหลายทางชีวภาพ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และอื่นๆ โดยเป็นการรวมพลังของหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทย เพื่อจัดแสดงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
ผลงานการวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทยและต่างประเทศ การประกวดและแข่งขันทางวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชนและประชาชน กิจกรรมการเรียนรู้แบบ
Hands-on ในแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับทุกช่วงวัย การประชุม สัมมนา อภิปราย ฝึกอบรม ทางวิทยาศาสตร์ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการแสดงสินค้าทาง
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                    การจัดงานในปี 2562 ภายใต้แนวคิดหลัก (Theme) “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม”

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”
2. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในประเทศและนานาชาติ
3. เพื่อกระตุ้นความสนใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของคนไทย
4. เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอาชีพด้านวิทยาศาสตร์แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป

วันเวลาและสถานที่
ระหว่างวันที่ 16-25 สิงหาคม 2562
เปิดให้บริการระว่างเวลา 9.00 – 19.00 น. (เข้าชมฟรี)
ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค (Hall 6-12) เมืองทองธานี

นิทรรศการประกอบด้วย
1. พระอัจฉริยภาพ “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และพระอัจฉริยภาพพระบิดาแห่ง
               เทคโนโลยีของไทย และพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย
นิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และพระบรมวงศานุวงศ์
2. นิทรรศการกลาง
นำเสนอประเด็นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่กำลังอยู่ในความสนใจของประชาชน หรือมีความสำคัญ มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่และการพัฒนาประเทศในอนาคต
ซึ่งควรสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนและเยาวชน โดยในปี 2562 มีนิทรรศการพิเศษ อาทิ
- นิทรรศการสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับเรื่องพลาสติก
- นิทรรศการปีแห่งตารางธาตุสากล
- นิทรรศการนิทรรศการมหัศจรรย์แห่งวิทยาศาสตร์เรื่อง Nikola Tesla ยอดนักวิทย์ผู้คิดเปลี่ยนโลก
- นิทรรศการ ๕๐ ปี Moon landing
- นิทรรศการความหลากหลายทางชีวภาพ
- นิทรรศการข้าว
- นิทรรศการพื้นที่นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ สู่ผลงานสิ่งประดิษฐ์ Engineering space
3. กิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในแนวทางสะเต็มศึกษา
- กิจกรรมห้องทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับครอบครัวและเยาวชน
- กิจกรรมลานประกวดแข่งขัน เครื่องบินกระดาษพับ
- กิจกรรมลานปลูกฝังปัญญาเยาว์ สำหรับพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของเด็กก่อนวัยเรียน
ในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย
- ห้องฉายภาพยนตร์วิทยาศาสตร์
- การแสดงทางวิทยาศาสตร์
- การประกวดแข่งขันตอบปัญหา มอบรางวัล
4. นิทรรศการศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย
- แสดงผลงานความก้าวหน้าด้านการวิจัย การประดิษฐ์คิดค้น นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในกิจการด้านต่าง ๆ
ของประเทศ จัดแสดงโดยหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ในประเทศไทย จากสถาบันวิจัย สมาคม สถาบันการศึกษา และกระทรวง ทบวง กรม
- ผลงานวิจัยของหน่วยงานวิจัยของกระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ กระทรวงกลาโหม และอื่นๆ
- โครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยคลินิกเทคโนโลยีของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และมหาวิทยาลัยเครือข่าย
- ผลงานชนะเลิศเครื่องจักร เครื่องยนต์ และนวัตกรรมจากการประกวดเทคโนโลยีของไทย
- ผลงานดีเด่นด้านวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน นักศึกษา นักวิจัย
- การเชิดชูเกียรติผู้บำเพ็ญประโยชน์ในสาขาวิทยาศาสตร์ ผู้ได้รับรางวัลพระราชทานประจำปี รวมทั้งผู้เป็นบุคคลตัวอย่างด้านวิทยาศาสตร์ เช่น นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น เป็นต้น
5. การประชุม สัมมนา และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ประกอบด้วยการประชุมระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
เพื่อการพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์และนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ของประเทศและภูมิภาค








Words >> คำศัพท์
science festival  เทศกาลวิทยาศาสตร์
interactive exhibition  ผู้ชมมีส่วนร่วม
National Science and Technology Fair  มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
Activity type  รูปแบบกิจกรรม
Exciting  ความตื่นเต้น

Assesment >> การประเมิน
Our self ตัวเอง : ตั้งใจไปชมนิทรรศการ
Friend เพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจไปชมนิทรรศการ
Teacher อาจารย์ : อาจารย์ให้ไปศึกษาดูงาน



วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2562

Recorded Diary 3



Friday 16 August 2019
Time 08:30 - 12:30 o’clock



***ซึ่งในวันนี้ไม่มีคาบเรียน แต่ในสัปดาห์หน้า วันที่ 21 สิงหาคม 2562 อาจารย์ติดงานราชการ จึงมาเข้าสอนไม่ได้  อาจารย์จึงให้มาเรียนพร้อมเพื่อนๆ Sec 1 ในวันศุกร์ ที่ 16 สิงหาคม 2562

The knowledge gained >> ความรู้ที่ได้รับ
            วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูล ได้แก่ อากาศ ลม ดิน เครื่องกล ว่ามีประเด็นสำคัญอะไรบ้างที่ ต้องการจะจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัย กลุ่มของดิฉันได้รับมอบหมายให้ศึกษาค้นคว้า เรื่องของ อากาศ มีประเด็นสำคัญดังนี้
            อากาศเกิดจากส่วนผสมต่างๆ ของ ก๊าซและไอน้ำ ได้แก่ ก๊าซ ไนโตรเจน ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ โอโซน
   คุณสมบัติ 
          1) อากาศมีตัวตนและสัมผัสได้
          2) มีน้ำหนัก
          3) ต้องการที่อยู่
          4) เคลื่อนที่ได้
  
ความสำคัญ 
          1) มีความจำเป็นต่อการมีชีวิตของมนุษย์ สัตว์และพืช
          2) ช่วยปรับอุณหภูมิโลก
          3) ทำให้เกิดลมและฝน
          4) มีผลต่อการดำรงชีวิตต่อสภาพจิตใจและร่างกายของมนุษย์
  อากาศเป็นพิษเกิดจาก 
          1) ภูเขาไฟระเบิด
          2) เกิดจากการกระทำมนุษย์ เช่น การเผาไหม้ เผาป่า ควันรถ การเผาขยะ
          3) โรงงานอุตสาหกรรม
  การดูแลรักษา
          1) งดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดควัน
          2) ปลูกป่า ปลูกต้นไม้ ช่วยกันอนุรักษ์
  จากนั้น
อาจารย์ให้นำเสนอ สื่อการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับเรื่องที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย กลุ่มของดิฉันก็ได้เลือกสื่อเพื่อนำมาประยุกต์เป็นสื่อของตัวเองดังนี้










ผู้ติดตาม 179K คนDLIT Resources


Words >> คำศัพท์
Air อากาศ
Research  ศึกษาค้นคว้า
Knowledge  ความรู้
Conservation
  การอนุรักษ์
Learning media สื่อการเรียนรู้

Assesment >> การประเมิน
Our self ตัวเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้การสนใจในการเรียน
Teacher อาจารย์ : อธิบายรายวิชาให้ฟังอย่างละเอียด





วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562

Recorded Diary 2



Wednesday 14 August 2019
Time 08:30 - 12:30 o’clock

The knowledge gained >> ความรู้ที่ได้รับ
           วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษา เข้าโปรแกรมสำหรับเช็คชื่อและส่งงาน  (Padlet) จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้แบ่งกลุ่มแล้วเข้าไปเชื่อมต่อกับ Padlet โดยการเขียนชื่อสมาชิกในกลุ่ม จากนั้นอาจารย์ได้มีการตั้งคำถามว่า ในรายวิชา วิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก นักศึกษาคิดว่าเราจะต้องเรียนอะไรบ้าง  อาจารย์ให้เวลาในการคิด โดยที่ห้ามเปิดดูข้อมูล เมื่อคิดได้แล้วก็ให้Postลงกลุ่มคำตอบ
            จากนั้นอาจารย์ได้ฝึกให้นักศึกษา brain ด้วยการทำท่าไข่พะโล้ ประกอบเพลงช้าง ทำเป็นจังหวะโดยกำหนดให้รอบแรก มือซ้ายกำ มือขวาแบ รอบสองมือซ้ายแบ มือขวากำ จากนั้นอาจารย์ให้เปลี่ยนท่า ในระดับที่ยากขึ้นมาอีก คือท่าที่มือขวากำแล้วมือซ้ายวางบน  ต่อไปมือขวาแบแล้วมือซ้ายกำวางไว้ข้างบนมือขวา  และสุดท้ายคือมือซ้ายกำแล้วมือขวาวางบน จากนั้นอาจารย์บอกว่าให้ทำ 1 ชุด วิธีการนี้เราสามารถนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัยได้









Words >> คำศัพท์
            Absorb ซึมซับ
            Learning การเรียนรู้
            Behavior change การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
            Sensory motor ประสาทสัมผัส
            Ego Sentric  ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง

Assesment >> การประเมิน
Our self ตัวเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้การสนใจในการเรียน
Teacher อาจารย์ : อธิบายรายวิชาให้ฟังอย่างละเอียด







วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2562

สรุปบทความ สอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching Children about Weather)



Wednesday 7 August 2019
Time 08:30 - 12:30 o’clock

การสอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching Children about weather)
            หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ถึงส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น ก๊าซที่มีอยู่มากและจำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง อากาศมีอยู่ในบ้านและบริเวณ มีอยู่ในโรงเรียน บริเวณรอบโรง เรียน กลางป่า เขา ชายทะเล แม่น้ำ น้ำตก สวน และอื่นๆ

การสอนเรื่องอากาศมีความสำคัญดังนี้
- อากาศเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของคนเรา อยู่กับคนเราตลอดเวลา เพราะเราใช้อากาศหายใจ หากขาดอากาศหายใจก็เสียชีวิตทันที
- เด็กสัมผัสอากาศตลอดเวลา ผ่านผิวหนังที่ทำให้เขาเกิดความรู้สึก ร้อน หนาว อุ่น สบาย และจะหลับสนิทเมื่ออยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิพอเหมาะกับความต้องการของร่างกายของเขา
- อากาศมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม
- สิ่งของเครื่องใช้หลายชนิดใช้อากาศประกอบ เช่น สูบลมเข้าลูกโป่ง เป่าถุงนอนให้ป่องออก เปิดเครื่องลมพัดให้เกิดลมพัดเย็นๆ เป็นต้น
- เรื่องอากาศที่ดีเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ทุกคนควรรู้ และรักษาสภาพอากาศที่ดีให้เราดำรงชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพควรได้รับการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก
***อากาศจึงเป็นสาระที่ควรเรียนรู้สำหรับเด็ก ที่จะนำไปใช้พัฒนาความรู้ ความคิด ให้เกิดความเข้าใจต่อธรรมชาติ และเป็นพื้น ฐานการดำรงชีวิตต่อไปอย่างปกติสุข

การสอนเรื่องอากาศมีประโยชน์ต่อเด็กดังนี้
- เด็กได้รับการพัฒนาเจตคติแห่งความสนใจ
- เด็กจะได้เรียนข้อความ รู้เรื่องของอากาศ เพื่อพัฒนาความคิดจากทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องอากาศ ซึ่งเป็นธรรมชาติที่จำเป็นต่อชีวิต จากประสบการณ์ตรง
- เด็กจะมีความสนุก ความสุขจากการเรียนเรื่องอากาศที่น่าเรียน
- การเรียนเรื่องอากาศเป็นการส่งเสริมให้เด็กเป็นผู้มีความรู้ ความคิด มีความสนใจต่อธรรมชาติ

เกร็ดความรู้
            กิจกรรมการปลูกพืชเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สัมพันธ์กับการเรียนเรื่องอากาศ ได้แก่ พืชช่วยให้เรามีอากาศออกซิเจนใช้หายใจ การทดลองให้เห็นว่า คน สัตว์ และพืช ต้องการอากาศหายใจเช่นกัน ดังนั้นการปลุกพืชร่วมกันของครูและเด็ก จะเป็นการ บูรณาการข้อความรู้เรื่องอากาศเข้าด้วยกัน ให้เด็กหัดสังเกต ค้นหาคำตอบและทดลองด้วย



สรุปวิจัย ผลของการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีวัฏจักรการสืบสอบหาความรู้ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล



Wednesday 7 August 2019
Time 08:30 - 12:30 o’clock

            ผลของการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีวัฏจักรการสืบสอบหาความรู้ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล(Effects of science experiences by using the inquiry cycle on science process skills of kindergarteners)
            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีวัฏจักรการสืบสอบหาความรู้ ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล 4 ทักษะ ได้แก่
1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการจำแนก
3.ทักษะการวัด
4.ทักษะการสื่อความหมาย
            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กอายุ 5-6 ปี โรงเรียนเทศบาลวัดโคกสะท้อนจำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ใช้การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยวิธีวัฏจักรการสืบสอบหาความรู้ จำนวน 32 คน และกลุ่มควบคุมที่ใช้การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์แบบปกติจำนวน 32 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าร้อยละ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01






สรุปตัวอย่างการสอน " น้ำเดินได้ Walking water " (หยดน้ำ)


Wednesday 7 August 2019
Time 08:30 - 12:30 o’clock

อุปกรณ์ที่เด็กๆต้องเตรียมนะคะ
1.สีผสมอาหาร สีเเดง สีเหลือง สีน้ำเงิน (แม่สี)
2.กระดาษทิชชู่
3.เเก้วน้ำ(เเบบใส)
4.น้ำ

ในภาพอาจจะมี 1 คน, เครื่องดื่ม

เตรียมของเรียบร้อยแล้วเรามาลงมือทำกันเลยจ้า
ขั้นตอนในการเล่น
1.นำเเก้วน้ำติกที่เตรียมไว้ทั้งหมดมาเรียงแถวต่อกัน หรือ จะทำเป็นวงกลมก็ได้นะคะ
2.เทน้ำลงไปในเเก้ว เทแก้วเว้นแก้ว
3.นำสีผสมอาหารมาใส่ลงในเเก้วที่ใส่น้ำไว้
4.นำกระดาษทิชชู่มาม้วนทำเป็นสะพานเชื่อมระหว่างแก้วที่ติดกัน

ในภาพอาจจะมี เครื่องดื่ม


ในภาพอาจจะมี เครื่องดื่ม และสถานที่ในร่ม

**และแล้วก็ถึงเวลาที่เด็กๆรอคอย เรามารอดูว่าถ้าน้ำแต่ละสีเดินทางมาเจอกันผลจะออกมาเป็นอย่างไร สีจะเปลี่ยนหรือไม่ เด็กๆรอดูผลงานตัวเองได้เลยจ้าาาาา

ในภาพอาจจะมี เครื่องดื่ม

ประโยชน์ในการเล่น walking water
-ช่วยเสริมทักษะการคิด วิเคราะห์ จินตนาการ
-ช่วยให้สนุกกับการทดลอง ตั้งคำถาม และ หาคำตอบ
-ช่วยฝึกฝนทักษะในด้านการสังเกต การจำเเนก ผสมสีเเละประเภทสี
-ช่วยฝึกการควบคุมสมาธิ เเละรู้จักการแก้ปัญญา เกิดความคิดใหม่ๆ


Recorded Diary 1


Wednesday 7 August 2019
Time 08:30 - 12:30
o’clock

The knowledge gained >> ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้เป็นวันเเรกที่ได้เข้าชั้นเรียน อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สิ่งที่เราต้องศึกษาเรียนรู้มีอะไรบ้าง อาจารย์ให้นักศึกษาไปดู มคอ : กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF:HEd) ว่าเราต้องเรียนอะไรบ้าง การเรียนของเราจะต้องสอดคล้องกับ มคอ เเละอาจารย์ให้สร้างบล็อคหา บทความ วิจัย เเละตัวอย่างการสอน


Words >> คำศัพท์
  • Article บทความ
  • Research วิจัย
  • Teaching Examples ตัวอย่างการสอน
  • Science Provision for Early Childhood การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • Thai Qualifications Framework for Higher Education กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 
Assesment >> การประเมิน
Our self ตัวเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้การสนใจในการเรียน
Teacher อาจารย์ : อธิบายรายวิชาให้ฟังอย่างละเอียด